วันจันทร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

สาเหตุ

ความขัดแย้ง หมายถึง ปฏิสัมพันธ์ที่มีลักษณะของความไม่เป็นมิตรหรือตรงกันข้ามหรือไม่ลงรอยกันหรือความไม่สอดคล้องกัน ความขัดแย้งเป็นธรรมชาติของมนุษย์ เมื่ออยู่ร่วมกันตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ย่อมเกิดความขัดแย้งขึ้นเป็นธรรมดา เพราะคนเราถูกเลี้ยงดูมาแตกต่างกัน ทำให้มีพื้นฐานทางความคิดแตกต่างกัน
สาเหตุของความขัดแย้ง
                -ความไม่เข้าใจกัน
                -การที่เพิกเฉยกัน
                -การสื่อสารที่ผิดพลาด
                -บรรยากาศไม่เหมาะสมต่อการพูดคุย
                -การอยู่ในสภาวะที่เกิดความขัดแย้งตลอดเวลาจะนำพาให้เกิดความขัดแย้งต่อไป
                -การแข่งขัน
                -ลักษณะแต่เดิมของคนคนนั้น
ผลกระทบของความขัดแย้ง
                ความขัดแย้งสามารถทำให้เกิดผลกระทบทั้งทางด้านดีและด้านลบได้ กล่าวคือ ถ้าความขัดแย้งได้สร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ หรือได้ข้อสรุป หรือทางออกที่ดีของปัญหา ความขัดแย้งนั้นจึงเป็นความขัดแย้งที่ดี แต่ถ้าความขัดแย้งที่เกิดขึ้นทำให้ความรู้สึกที่มีต่อกันทั้งสองฝ่าย หรือ ทำให้ความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันขาดสะบั้นลง เกิดปากเสียงและเกิดการเลือดตกยางออก นั่นจึงเป็นสิ่งที่ไม่ดีของความขัดแย้ง ซึ่งอาจจะส่งผลให้ความขัดแย้งขยายกลุ่มออกไป จากบุคคล สู่การรวมกลุ่มในสังคม เกิดปัญหาให้กับสังคมก็เป็นได้
ตัวอย่างของปัญหาความขัดแย้งในครอบครัว
                ปัญหาพ่อแม่ทะเลาะกัน หรือปัญหาความขัดแย้งกันระหว่างพ่อกับแม่ มีขอบเขตตั้งแต่การโต้เถียงกันด้วยคำสบประมาท การทะเลาะเบาะแว้ง ไปจนถึงการใช้ความรุนแรงในครอบครัว ส่งผลกระทบให้เด็กได้รับการเลี้ยงดูในสภาพแวดล้อมที่เป็นอันตรายทั้งต่อร่างกายและจิตใจ ถึงแม้จะมีความขัดแย้ง แต่พ่อแม่ควรรำลึกเสมอ ที่จะสอนลูกให้เดรู้จักการควบคุมอารมณ์ และการแก้ปัญหาด้วยเหตุผล เพื่อรักษาไว้ซึ่งความมั่นคงของครอบครัว พ่อแม่ควรแสดงให้เด็กเห็นว่าการขัดแย้งระหว่างบุคคลไม่ใช่เรื่องผิด แต่ต้องมีขอบเขต โดยทุกครั้งที่ทะเลาะกัน พ่อแม่ควรตระหนักอยู่เสมอว่า ลูกคือคนสำคัญที่สุดที่พ่อแม่ต้องใส่ใจ



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น