วันอาทิตย์ที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2558

รายชื่อสมาชิก

เสนอ
อ.จัตวา อรจุล

โดย ม.๕/๕
นภัสสร กุลสยุมพร เลขที่ 4
กษวิชญ์ ภูษณปัญญา เลขที 11
ณัฐวรรธน์ อรัญญาวัฒน์ เลขที่ 13
ธนัตถ์ จิวาภรณ์คุปต์ เลขที่ 15
ประณัยเดช เฮงสวัสดิ์ เลขที่ 18
รัฐพงศ์ รงคพิชญ์ เลขที่ 20

โรคซึมเศร้าในวัยรุ่น

โรคซึมเศร้าในวัยรุ่น
  
โรคซึมเศร้า (depression) เป็นโรคทางอารมณ์ชนิดหนึ่ง ซึ่งผู้ที่เป็นโรคนี้จะมีอารมณ์ซึมเศร้าอย่างรุนแรง โดยไม่มีสาเหตุอารมณ์ซึมเศร้า อาจเริ่มต้นจากน้อยๆ ไปหามาก ผู้ป่วยอาจมีอารมณ์ไม่แจ่มใส หดหู่ เศร้าหมอง มีทุกข์ จนถึงเบื่อหน่าย ท้อแท้ เบื่อชีวิต คิดว่าตนเองไร้ค่า คิดอยากตายและอาจจะฆ่าตัวตายได้ โรคซึมเศร้าเป็นโรคที่รักษาได้ผลดีมาก การใช้ยาร่วมกับจิตบำบัด จะช่วยให้ผู้ป่วยส่วนใหญ่หายเป็นปกติเหมือนเดิม เมื่อหายแล้ว แพทย์จะให้รับประทานยาป้องกันต่ออีกประมาณ 6 - 12 เดือน ไม่ควรหยุดยาเองเด็ดขาด เพราะอาจทำให้มีอาการอีกได้ง่าย

  
โรคซึมเศร้า  พบได้ในทุกช่วงระยะเวลาของชีวิต ครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยโรคซึมเศร้า คิดฆ่าตัวตาย และครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยที่ฆ่าตัวตาย เป็นโรคซึมเศร้า


อาการ
อาการ และการแสดงออกของโรคซึมเศร้าในวัยรุ่น มีได้หลายรูปแบบต่างๆ ดังนี้
1. มีอารมณ์ซึมเศร้า ท้อแท้ เบื่อหน่าย เก็บตัว โดยอารมณ์เศร้าอาจจะเกิดขึ้นเองโดยไม่มีสาเหตุ
2. มีพฤติกรรมเปลี่ยนไป ที่พบบ่อย คือ อารมณ์หงุดหงิด ฉุนเฉียวง่าย ขาดสมาธิ  ผลการเรียนตก เกเร บางรายอาจจะ ใช้สารเสพติด หรือหนีจากบ้าน
3. มีอาการทางกาย โดยตรวจไม่พบสภาพทางร่างกาย เช่น ปวดหัว นอนไม่หลับ ปวดท้อง อาหารไม่ย่อย ท้องอืด ไม่อยากกินอาหาร บางรายอาจจะมีอาการง่วงนอนตลอดเวลา
ทั้งนี้ผู้เป็นโรคซึมเศร้าในวัยรุ่น อาจจะมี โรคทางจิตเวชอื่นๆ ร่วมด้วย เช่นโรคเครียด โรควิตกกังวล เป็นต้น

สาเหตุ
ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าทั้งเด็ก และผู้ใหญ่ พบว่ามีการลดลงของสารสื่อประสาท  ประเภท สารสุขโดยเฉพาะ Serotonin ที่จุดเชื่อมปลายประสาท ในสมองส่วนลิมบิก (Limbic) ทำให้ขาดสมดุลของสารสื่อประสาท และสารสื่อประสาททำงานผิดปกติไปทำให้เกิดสภาพของโรคซึมเศร้า โดยมีสาเหตุดังนี้
          1. เกิดจากภาวะกดดันหรือความเครียดนำมาก่อน และไม่สามารถปรับตัวได้ แม้ว่าปัญหาจะหมดไปแล้ว หรือเป็นปัญหาต่อเนื่อง และไม่สามารถปรับตัวได้
          2. พบภาวะการสูญเสีย ซึ่งคนปกติจะมีอาการซึมเศร้าได้ แต่ไม่ควรมีเกินกว่า 2 เดือน หลังจากเหตุการณ์นั้น  ภาวะซึมเศร้าอาจเกิดจากการเกิดโรคทางกาย หรือความผิดปกติของฮอร์โมนบางชนิด
          3. ลักษณะบุคลิกภาพเดิมที่มักมีแนวคิดทำให้ตนเองซึมเศร้า เช่น มองตนเองในแง่ลบ มองโลกในแง่ร้าย เห็นแต่ข้อบกพร่องของตนเอง

การรักษาโรคซึมเศร้า
การรักษาโดยใช้ยา
แพทย์จะพิจารณาเลือกใช้ชนิดของยาแก้ซึมเศร้า โดยอาศัยปัจจัยต่างๆ เช่น ลักษณะของอาการและความรุนแรง ระยะเวลาว่าป่วยมานานเท่าใด ประกอบอาชีพหรือดำรงอาชีพอย่างไร มีโรคประจำตัวอะไรบ้าง และกำลังรับประทานยาชนิดใดอยู่ เพื่อเลือกยาแก้ซึมเศร้าที่เหมาะสมที่สุดแก่ผู้ป่วย
ยาแก้ซึมเศร้าส่วนใหญ่ มีฤทธิ์ยับยั้งการดูดซึมสารสื่อประสาทกลับเข้าเซลล์ จึงทำให้มีปริมาณสารสื่อประสาทเพิ่มขึ้นหรือสมดุลขึ้น ข้อสำคัญคือ ยาแก้ซึมเศร้าไม่มีฤทธิ์เสพย์ติด
ยาแก้ซึมเศร้าก็มีผลข้างเคียงได้ดังยาอื่นๆ เช่น ทำให้มึนๆ ง่วงๆ แต่มักจะเป็นอยู่ช่วงสั้นไม่กี่วันก็หาย หากมีอาการมากจนรบกวนกิจวัตรประจำวัน ผู้ป่วยควรติดต่อแพทย์ผู้รักษา เพื่อขอคำแนะนำในการแก้ไขหรือปรับเปลี่ยนยา


ศิลปะบำบัด
ประโยชน์ของการวาดภาพนั้นช่วยให้คุณได้ระบายออกทางอารมณ์ ในยาม ที่คุณรู้สึกเศร้า โดยไม่ต้องกังวลว่าเราต้องเป็นศิลปินหรือมีฝีมือแค่ไหน

  
 การกระตุ้นทางสายตา และกลิ่น
 การได้มองสิ่งที่สวยงามสามารถเพิ่มคุณภาพชีวิตของคุณได้ เช่น มองธรรมชาติที่สวยงาม สีสบายตา เป็นต้น และกลิ่นบางชนิดมีผลช่วยผ่อนคลายความเครียด ได้แก่ กระเพรา, มะกรูด, อบเชย, มะลิ, ตะไคร้, ส้ม, กระดังงา, ใบสะระแหน่, ลาเวนเดอร์, มะนาว เป็นต้น
 




การฆ่าตัวตาย
สาเหตุของการฆ่าตัวตายมีหลายประการ ได้แก่
          1. มีอาการซึมเศร้า ผู้ที่มีอาการซึมเศร้ามากๆ จะคิดว่าตนเองไร้ค่าอยู่ไปไม่มีประโยชน์ ความรู้สึกซึมเศร้าทำให้ไม่สามารถทนอยู่กับอาการต่างๆ ซึ่งทรมานได้อีกต่อไป ส่วนใหญ่ผู้ที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้า จะมีอาการรุนแรงถึงขนาดฆ่าตัวตายได้
          2. มีอาการโรคจิต ผู้ที่เป็นโรคจิต มักมีอาการหูแว่ว, หลงผิด และปรับตัวเข้ากับสังคมได้ลำบาก บางครั้งเกิดอาการซึมเศร้าจากการป่วยโรคจิตอย่างเรื้อรัง ไม่มีความหวังในชีวิต ก็คิดอยากตายได้ ผู้ป่วยโรคจิตบางคนมีหูแว่วเป็นเสียงสั่งให้ฆ่าตัวตายก็ทำตามเสียงนั้น ผู้ป่วยโรคจิตบางชนิดจะสับสน มีภาพหลอน เกิดตกใจวิ่งหนี ทำให้เกิดอุบัติเหตุเหมือนฆ่าตัวตายได้
          3. ผู้ที่ติดเหล้าหรือสารเสพติด เกิดอาการซึมเศร้า และขาดการยับยั้งใจตัวเอง ฆ่าตัวตายด้วยความโกรธ และก้าวร้าวต่อตนเองได้
          4. ผู้ที่มีบุคลิกภาพผิดปกติ จะเกิดปัญหาทางอารมณ์ได้ง่าย และอยากฆ่าตัวตายได้

ตัวอย่างเหตุการณ์


  
กรมสุขภาพจิต เผย คนไทยยุคใหม่ น่าห่วง เสี่ยงฆ่าตัวตาย ชี้สถิติปี 54 เพิ่มจาก 5.9 เป็น 6.03 คนต่อแสนประชากร ตะลึงวัยรุ่นฆ่าตัวเฉลี่ย 170 คนต่อปี ภาคอีสานครองแชมป์ โดยเฉพาะในกลุ่มกำลังเรียน พบสถิติผูกคอตายมากสุด แนะปรึกษาคนรอบข้างระบายความเครียด...
เมื่อวันที่ 6 ก.ย.  นพ.ทวี ตั้งเสรี รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า ปัญหาการฆ่าตัวตายเป็นปัญหาสำคัญยิ่งของสังคมไทย โดยแต่ละปีจะมีคนฆ่าตัวตายสำเร็จมากกว่า 3,500 คน และจากตัวเลขล่าสุดในปี 2554 มีคนไทยเสียชีวิตจากการฆ่าตัวตายถึง 3,873 คน คิดเป็นอัตรา 6.03 ต่อประชากรแสนคน ซึ่งเป็นตัวเลขที่สูงขึ้นกว่าปีที่แล้ว ซึ่งอยู่ที่อัตรา 5.9 ต่อประชากรแสนคน ทั้งนี้ ในปี 2554 เมื่อวิเคราะห์สถิติในแต่ละกลุ่มช่วงอายุ พบว่า วัยรุ่นไทยเป็นกลุ่มที่ต้องให้ความห่วงใยเป็นพิเศษ เพราะวัยรุ่นเป็นวัยที่ต้องเผชิญปัญหาชีวิตและต้องปรับตัวในหลายๆ ด้าน ทั้งประสบการณ์ชีวิตยังไม่มากนัก อาจส่งผลให้เกิดปัญหาสุขภาพจิตตามมาได้
นอกจากนี้ ในปี 2550 – 2554 พบว่า ประเทศไทยมีวัยรุ่นที่ฆ่าตัวตายสำเร็จ 852 คน หรือ เฉลี่ย 170 คนต่อปี โดยปี 2554 พบว่า วัยรุ่นไทยอายุระหว่าง 15-19 ปี มีอัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จ อยู่ที่ 3.43 ต่อประชากรแสนคน วัยรุ่นชายฆ่าตัวตายสำเร็จมากกว่าวัยรุ่นหญิงเป็น 3 เท่า โดยที่วัยรุ่นหญิงจะพยายามทำร้ายตนเองมากกว่าวัยรุ่นชายเป็น 3 เท่า และที่น่าสนใจ คือ ร้อยละ 51.1 ของวัยรุ่นที่ฆ่าตัวตายนั้นอยู่ในช่วงระหว่างศึกษา ร้อยละ 25.1 ไม่ได้เรียนต่อในชั้นมัธยมและประกอบอาชีพรับจ้าง/เกษตรกรรม
สำหรับวิธีการใช้ในการฆ่าตัวตาย พบว่า เป็นวิธีการเช่นเดียวกับผู้ใหญ่ คือ การผูกคอตาย มากถึงร้อยละ 75.29 รองลงมา คือ การกินยาฆ่าแมลง ร้อยละ 16.47 รูปแบบของการฆ่าตัวตายจะเป็นลักษณะกะทันหันเมื่อต้องประสบภาวะวิกฤติมากกว่า มาจากปัญหาสุขภาพจิตที่มีอยู่แล้ว เช่น ปัญหาการเรียน สัมพันธภาพ และร้อยละ 16.8 เคยมีประวัติทำร้ายตัวเองมาก่อน
ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาเป็นรายภาค พบ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นภาคที่มีการฆ่าตัวตายของวัยรุ่นมากกว่าภาคอื่นๆ ส่วนจังหวัดที่มีวัยรุ่นฆ่าตัวตายสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดนครราชสีมา ขอนแก่น อุดรธานี เชียงราย และจังหวัดเชียงใหม่ ตามลำดับ ขณะที่ วัยรุ่นกรุงเทพมหานคร ฆ่าตัวตาย คิดเป็นร้อยละ 2.9 ของวัยรุ่นที่ฆ่าตัวตายทั้งหมด อีกทั้งไม่กี่เดือนข้างหน้า จะเป็นเทศกาลสอบ GAT และ PAT ตลอดจนการสอบตรงของแต่ละคณะและสาขาต่างๆ จึงเป็นช่วงที่กลุ่มวัยรุ่นส่วนใหญ่ จะต้องเคร่งเครียดไปกับการเตรียมตัวอ่าน หนังสือและติวข้อสอบ ดังนั้นการผ่อนคลาย และการพูดคุยกับสมาชิกในครอบครัวลดน้อยลง อาจเกิดความเครียดสะสม ไม่สามารถจัดการกับความเครียดในตนเองได้
"อาจพัฒนาเป็นภาวะซึมเศร้า ซึ่งหากไม่สามารถหันหน้าไปปรึกษาใครได้ ไม่มีใครเข้าใจและรับฟัง มองไม่เห็นทางออกของปัญหา อาจส่งผลให้เกิดความรู้สึกสิ้นหวัง ไร้คุณค่าในตนเอง มีความคิดฆ่าตัวตาย ประกอบกับ หากเคยพบเห็นข่าวการฆ่าตัวตายอาจเกิดพฤติกรรมเลียนแบบได้ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้ปกครองหรือคนรอบข้างจะต้องให้ความช่วยเหลือวัยรุ่น ที่เสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย ด้วยการเป็นที่ปรึกษา รับฟัง เข้าใจและให้กำลังใจ ตลอดจนคอยสังเกตอาการของภาวะซึมเศร้า หรือ สัญญาณเตือนล่วงหน้าของการฆ่าตัวตาย เช่น การเขียนจดหมาย หรือ โทรศัพท์เพื่อเป็นการสั่งลา"
อย่างไรก็ตาม ได้ร่วมมือกับองค์การอนามัยโลก กำหนดให้วันที่ 10 กันยายนของทุกปี เป็นวันป้องกันการฆ่าตัวตายโลก กรมสุขภาพจิตจึงได้จัดกิจกรรมรณรงค์เนื่องในวันป้องกันการฆ่าตัวตายโลกขึ้น ณ ศูนย์การค้า เซ็นทรัลเวิลด์ ในวันที่ 6 ก.ย. 2555 ภายใต้แนวคิด คนไทยยุคใหม่ กำลังใจเกินร้อย ด้วยหวังสร้างความตระหนักให้คนไทยทุกคนเห็นความสำคัญของปัญหาการฆ่าตัวตาย ใส่ใจที่จะดูแลสุขภาพจิตตนเองและคนรอบข้าง โดยเฉพาะวัยรุ่น ที่ครอบครัวและเพื่อนสนิท ถือว่ามีความสำคัญอย่างยิ่ง ซึ่งหากให้ความเข้าใจและเป็นกำลังใจให้กันอยู่เสมอ หากไม่สบายใจ วิตกกังวลหรือเครียด ควรหาเพื่อนปรึกษาพูดคุยระบาย ช่วยกันคิดแก้ปัญหา ไม่เก็บปัญหาไว้คนเดียว โดยสามารถขอรับคำปรึกษาได้ที่หน่วยบริการสาธารณสุขใกล้บ้าน ได้แก่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล โรงพยาบาลชุมชนที่อยู่ใกล้บ้าน ตลอดจน สายด่วนสุขภาพจิต 1323 ตลอด 24 ชั่วโมง หรือหากพบว่าตนเองอยู่ในภาวะเครียดรุนแรง ควรรีบพบแพทย์ หรือขอรับบริการได้ที่โรงพยาบาลจิตเวช สังกัดกรมสุขภาพจิตทั่วประเทศ
ข้อมูลจาก : http://www.thairath.co.th/content/289132
วิเคราะห์เหตุการณ์
สาเหตุ : เครียดจากการอ่านหนังสือสอบ และภาวะซึมเศร้าจากปัญหาในสังคม
ปัญหา : มีเด็กวัยรุ่นจำนวนมากฆ่าตัวตาย
การแก้ปัญหา : ให้ครอบครัวมีการคุยกับเด็กมากขึ้น และไม่ไปกดดันเด็ก เด็กจะได้มีอารมณ์ที่ผ่อนคลายลง
ที่มาของข้อมูล
http://icare.kapook.com/suicide.php?ac=detail&s_id=65&id=120
http://www.ramamental.com/medicalstudent/generalpsyc/depressdetail/
http://www.thaiclinic.com/depression_adolescent.html

http://www.cgh.co.th/ 

ปัญหาวัยรุ่นด้านสารเสพติด

ปัญหาพฤติกรรมวัยรุ่นซึ่งเกิดจากสารเสพติด (Adolescent Problem leading from drugs)
การระบาดของยาเสพติดที่แพร่หลายอยู่ในประเทศไทยเราขณะนี้เป็นปัญหาที่ดูเหมือนว่า จะไม่มีทางแก้ไขได้สำเร็จ การปราบปรามอย่างรุนแรงทั้งด้วยปืนของตำรวจและด้วยปาก ของนักการเมือง ไม่มีทีท่าว่าจะหยุดยั้งการแพร่กระจายของยาเสพติดที่แทรกแซง เข้าไปยัง ประชากรทุกหมู่เหล่า ทุกเพศทุกวัยได้เลย ปริมาณยาเสพติดที่ยึดได้หากนำมารวมกันทั้งหมดตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน น่าจะนำไปใช้ ถมที่ดินเพื่อก่อสร้างสนามบินแห่งที่สอง เป็นการประหยัดทรายได้มิใช่น้อย ปัญหายาเสพติดมิใช่ปัญหาของบ้านเราเท่านั้น แต่เป็นปัญหาของทุกประเทศในโลก ต่างกันแต่เพียงระดับความรุนแรงและประเภทของยาเสพติดเท่านั้น  การแก้ปัญหายาเสพติด จำเป็นต้องเข้าใจสาเหตุ และกลไกการเกิดปัญหา เพื่อที่จะได้ หาทางแก้ไขได้ครบวงจร มิใช่ไปเน้นที่จุดใดจุดหนึ่งเท่านั้น


สาเหตุและพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดสารเสพติด
1. ยาและฤทธิ์ยา ตามความหมายของสารเสพติด จะเห็นว่า สารเสพติดถ้าใช้เป็นเวลานานๆ จะเกิดความเคย              ชิน โดยต้องการเพิ่มปริมาณมากขึ้น จะมีอาการขาดยาไม่ได้ ทั้งนี้สารเสพติดจะออกฤทธิ์ต่อระบบต่างๆ ของร่างกาย จนทำให้มีโอกาสติดสารเสพติดนั้น หรือทำลายร่างกายและสุขภาพได้


2. ตัวผู้เสพ เกิดจากสาเหตุต่างๆ ดังนี้
      2.1. ปัจจัยด้านร่างกาย จากสถานการณ์เจ็บป่วยทางร่างกาย และใช้ยาบำบัดรักษา เช่น การใช้มอร์ฟีนแก้ปวดแก่ผู้ป่วยภายหลังการผ่าตัด โรคกระดูก โรคมะเร็ง เป็นต้น จนทำให้เป็นสาเหตุการติดสารเสพติดได้
      2.2. ปัจจัยทางด้านจิตใจ อารมณ์ และบุคลิกภาพ บุคคลที่มีบุคลิกภาพและอารมณ์แปรปรวน อารมณ์อ่อนไหว ขาดความมั่นใจในตนเอง สติปัญญาต่ำ ร่างกายอ่อนแอ ผู้ป่วยด้วยโรคจิตและโรคประสาท ตลอดจนพฤติกรรมเบี่ยงเบน เช่น ความคึกคะนอง การเลียนแบบ เป็นต้น บุคคลประเภทนี้เสี่ยงต่อการมีแนวโน้มที่จะถูกชักจูงได้ง่าย การขาดความรับผิดชอบ การขาดความมั่นคงในอารมณ์และจิตใจของตนเอง สามารถเป็นสาเหตุของการใช้จนติดสารเสพติดได้ง่าย

3. สิ่งแวดล้อม เกิดจากสาเหตุต่างๆ ดังนี้
     3.1. ปัจจัยด้านครอบครัว จากปัญหาครอบครัว เช่น การขาดความรักความอบอุ่น การเข้มงวด หรือละเลยจนเกินไป ความขัดแย้ง การทะเลาะวิวาท การขาดความสามัคคี การขาดความสนใจ การขาดความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันในครอบครัว เป็นต้น
     3.2. ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ เนื่องจากฐานะความยากจนของครอบครัวจนเป็นสาเหตุของการต้องกลายเป็นผู้ขายและติดสารเสพติดในที่สุด
     3.3. ปัจจัยด้านสังคม เนื่องจากค่านิยมที่ผิดๆ ของตนเอง เช่น การเป็นที่ยอมรับผูกมิตรกับกลุ่มเพื่อน หรือสังคม การเลียนแบบในเรื่องบุหรี่ สุรา สารเสพติดต่างๆ เป็นต้น

ผลกระทบของสารเสพติด
1.   ด้านสุขภาพอนามัย ผู้ตกเป็นทาสสารเสพติดเกือบทุกประเภทร่างกายจะซูบซีด ผอมเหลือง เหลือแต่หนังหุ้มกระดูก ความคิดอ่านช้า ความจำเสื่อม ขาดสติ อาเจียน นอนไม่หลับ เบื่ออาหาร และจะเสียชีวิตในที่สุด
2.   ด้านเศรษฐกิจ เนื่องจากสารเสพติดทุกประเภทผู้เสพจะต้องเพิ่มยาให้มากขึ้นตลอดเวลาและหยุดเสพไม่ได้ ดังนั้นจึงต้องสูญเสียเงินทองสำหรับซื้อยามาเสพไม่มีที่สิ้นสุด ร่างกายไม่แข็งแรง ไม่สามารถประกอบอาชีพได้ดังเช่นคนปกติทั่วไป ครอบครัวและรัฐต้องสูญเสียแรงงานไป ดังนั้น จึงส่งผงเสียหายต่อเศรษฐกิจ ทั้งของตนเอง ครอบครัว และประเทศชาติโดยส่วนรวม
3.   ด้านสังคม สารเสพติดยังเป็นตัวก่อให้เกิดปัญหาสังคมอย่างมากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาอาชญากรรม เพราะผู้ติดยาจำเป็นต้องใช้เข็มสำหรับฉีดยาเสพติดเป็นประจำทุกวัน และจำเป็นต้องเพิ่มปริมาณขึ้นอยู่ตลอดเวลา ดังนั้น การประกอบอาชีพสุจริตทั่วๆ ไปนั้นย่อมเป็นการยากที่จะหาเงินมาซื้อสารเสพติดได้อย่างพอเพียง และในสภาพความเป็นจริงผู้ติดยาจะไม่มีใครคบค้าหรือร่วมสมาคมด้วยเหตุนี้จึงเป็นจุดเริ่มต้นของการประกอบอาชญากรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาชญากรรมที่เกี่ยวกับทรัพย์ นอกจากนั้นยังเป็นสาเหตุของปัญหาสังคมอื่นๆ อีกมากมาย เช่น ปัญหาวัยรุ่น ปัญหาการพนัน ปัญหาครอบครัว ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคเอดส์ เป็นต้น
4.   ด้านความมั่นคงของชาติ ความร้ายแรงของสารเสพติดมีผลโดยตรงต่อความมั่นคงของประเทศชาติเป็นอย่างมาก เพราะถ้าประเทศใดมีประชากรติดสารเสพติดจำนวนมาก ประเทศนั้นก็จะอ่อนแอ เศรษฐกิจเสียหาย มีปัญหาสังคมต่างๆ เหล่านี้ย่อมไม่เป็นผลดีต่อความมั่นคงของประเทศ






การป้องกันปัญหายาเสพติด             
การป้องกันปัญหาสิ่งเสพติดต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายฝ่าย ดังนี้
1.  การป้องกันตนเอง
    1.1. ไม่ทดลองเสพสิ่งที่รู้ว่ามีภัย เพราะอาจจะทำให้ติดได้ง่าย
    1.2. เลือกคบเพื่อนที่ดี พยายามหลีกเลี่ยงเพื่อนที่ชอบชักจูงไปในทางเสื่อมเสีย
    1.3. รู้จักใช้วิจารณญาณในการแก้ปัญหา
    1.4. การสร้างทักษะชีวิต โดยเฉพาะทักษะการปฏิเสธเมื่อถูกเพื่อนชักชวนให้เสพสิ่งเสพติดต้องรู้จัก   ปฏิเสธอย่างนุ่มนวล โดยการชี้แจงผลเสียของสิ่งเสพติดต่อการเรียนและอนาคต การรู้จักปฏิเสธอย่างจริงจังและจิตใจแน่วแน่จะทำให้เพื่อนเกรงใจไม่กล้าชวนอีก    
2. การป้องกันในครอบครัว 
    ผู้ที่ติดสิ่งเสพติดส่วนใหญ่จะเกิดจากครอบครัวที่แตกแยกมีปัญหา ขาดความรักความอบอุ่น เกิดความว้าเหว่ ขาดที่ยึดเหนี่ยวทางจิตใจ ซึ่งเป็นเหตุให้เด็กๆ หันไปพึ่งยาเสพติดแทน ดังนั้นพ่อแม่จึงควรให้ความรักความอบอุ่น และพ่อแม่ก็ควรจะประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดี และเป็นที่ปรึกษาให้แก่ลูกๆได้ ทำให้ลูกไม่หันไปพึ่งพายาเสพติด   
 3.  การป้องกันในโรงเรียน
    
ครูควรให้ความรู้เกี่ยวกับโทษและอันตรายของสิ่งเสพติดให้กับนักเรียน จัดให้มีกิจกรรมนันทนาการในโรงเรียนให้เพียงพอและสนับสนุนให้นักเรียนได้ร่วมกิจกรรมนันทนาการต่างๆและสอนให้เด็กรู้จักใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
  4. การป้องกันชุมชน
    
 การป้องกันชุมชนจากปัญหาสิ่งเสพติดทำได้หลายวิธี เช่น
    1. การให้ความรู้ โดยการอบรมแก่ทุกคนในชุมชนให้เห็นโทษหรืออันตรายจากสิ่งเสพติด
    2. เสริมกิจกรรมยามว่าง โดยการส่งเสริมอาชีพแก่ชุมชนยามว่าง เช่น การเย็บเสื้อผ้า การทำรองเท้า
    3. ตั้งศูนย์รับแจ้งเบาะแสเกี่ยวกับสิ่งเสพติด เมื่อพบว่ามีการซื้อขายหรือเสพสิ่งเสพติดภายในชุมชน
    4. เข้าร่วมโครงการชุมชนปลอดสิ่งเสพติดต่างๆ ทั้งที่ทางราชการจัดขึ้น และชุมชนคิดริเริ่มขึ้นมาเอง




ตัวอย่างเหตุการณ์ : ตร.พัทยารวบ 22 วัยรุ่น เปิดบ้านเช่ามั่วสุมยาเสพติด

 

เมื่อเวลา 18.30 น. วันที่ 21 มิ.ย. พล.ต.ท.ศานิตย์ มหถาวร รรท.ผบช.ภ.2 พ.ต.อ.ศุภธีร์ บุญครอง
รอง.ผบก.ภ.จว.ชลบุรี รรท.ผกก.สภ.เมืองพัทยา พร้อมกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจจำนวนหนึ่ง แถลงผลการเข้าจับกุมวัยรุ่นจำนวน 22 คน ที่บ้านเลขที่ 139/89 ม.12 ต.หนองปรือ อ.บางละมุง จ.ชลบุรี หมู่บ้านวิวพอยท์ ซ.ชัยพฤกษ์ แบ่งเป็นวัยรุ่นชาย 15 คน และหญิง 7 คน พร้อมของกลางอาวุธปืนขนาด 11 มม. 1 กระบอก เครื่องกระสุน 10 นัด และวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทประเภท 2 (ยาอิลิมิน 5 หรือ ไฟไฟร์ 5) จำนวน 30 เม็ด
สืบเนื่องจากเจ้าหน้าที่ชุดจับกุม นำโดย พ.ต.อ.สุภธีร์ สืบทราบว่า มีวัยรุ่นทั้งชายและหญิงเช่าบ้านหลังใหญ่ เพื่อเข้าไปมั่วสุมปาร์ตี้ยาเสพติด จึงนำกำลังเข้าจับกุม พบเป็นบ้านเดี่ยว 2 ชั้น กลุ่มวัยรุ่นกำลังเปิดเพลงเต้นกันอย่างสนุกสนาน จึงแสดงตัวเข้าจับกุม พร้อมตรวจค้นพบยาไฟไฟร์ 5 ตกอยู่ที่พื้นและอาวุธปืน ซึ่งเป็นของนายบดินทร์ รุ่งโรจน์ อายุ 23 ปี อยู่บ้านเลขที่ 34/3 ม.9 ต.ทุ่งขวาง อ.พนัสนิคม จ.ชลบุรี นอกจากนี้ จากการตรวจปัสสาวะ พบว่ามีสีม่วงจำนวน 20 คน จึงควบคุมตัวพร้อมของกลางไปสอบสวนต่อที่ สภ.เมืองพัทยา
จากการสอบสวนผู้ต้องหาทั้งหมด ให้การว่า เช่าบ้านหลังดังกล่าวเพื่อเข้าไปมั่วสุมปาร์ตี้กัน โดยเจ้าของบ้านให้เช่าวันละ 1 หมื่นบาท ซึ่งภายในบ้านมีเครื่องเสียงไว้บริการลูกค้า เพื่อเข้ามาจัดปาร์ตี้ ก่อนจะถูกเจ้าหน้าที่เข้าจับกุมได้ดังกล่าว
วิเคราะห์เหตุการณ์
1.             สาเหตุของปัญหา  เนื่องจากความคึกคะนองของวัยรุ่น การดูแลไม่ทั่วถึงของผู้ปกครอง
2.             การป้องกันปัญหาพฤติกรรมวัยรุ่น  มีการสร้างสัมพันธภาพที่ดีภายในครอบครัว คบเพื่อนที่ดี
3.             การแก้ไขปัญหาพฤติกรรมวัยรุ่น  ทางครอบครัวควรใส่ใจในวัยรุ่นมากยิ่งขึ้น พยายามให้กำลังใจในการปรับปรุงพฤติกรรมต่างๆ และร่วมกันทำกิจกรรมที่เป็นประโยชน์
4.              ผลกระทบของปัญหา  พฤติกรรมเหล่านี้มีความอันตรายมาก อาจส่งผลกระทบไปทั่วสังคมถ้าไม่ถูกระงับไว้ก่อน


อ้างอิง


ปัญหาด้านการเรียนของวัยรุ่น

ปัญหาด้านการเรียนของวัยรุ่น
            
             ปัญหาการเรียนในวัยรุ่น  เป็นปัญหาที่พ่อแม่นำมาปรึกษาบ่อยที่สุดปัญหาหนึ่ง  เนื่องจาก การแข่งขันทางการเรียนที่มีมากในปัจจุบัน  เด็กที่มีปัญหาการเรียนมักจะเกิดปัญหาพฤติกรรมอื่น ตามมา เช่น เกเร ก้าวร้าว ดื้อ ซน เครียด  วิตกกังวล  หงุดหงิด คบเพื่อนไม่ดี  หนีเรียน หนีเที่ยว  ปัญหาทางเพศ  และการใช้สารเสพติด  ซึ่งเกิดจากความรู้สึกที่ไม่ดีต่อตนเองที่ตามมา จากการขาดความสำเร็จในการเรียน  การถูกตำหนิจากพ่อแม่  ความรู้สึกตนเองล้มเหลว และขาดความภาคภูมิใจในตนเอง  ทำให้เป็นปัญหาอารมณ์และกลายเป็นปัญหาบุคลิกภาพ การหาสาเหตุของปัญหาควรรีบทำเพื่อป้องกันปัญหาพฤติกรรมอื่นๆที่จะเกิดตามมาได้



  อาการ
              ผลการเรียนต่ำ
   สาเหตุ
            1.  ปัญหาสติปัญญา  เด็กที่มีระดับสติปัญญาต่ำกว่าปกติ  จะไม่สามารถเรียนรู้ แก้ไขปัญหาได้เท่าเทียมผู้อื่นที่อยู่ในวัยเดียวกัน  ผลการเรียนมักอ่อนมาตั้งแต่เด็ก ในวัยก่อนเรียนมักมีประวัติพัฒนาการช้าทุกด้าน 
            2.  โรคสมาธิสั้น  การเรียนรู้ที่ได้ผลจำเป็นต้องอาศัยสมาธิ  ให้จดจ่ออยู่กับการเรียน  เด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้นจะไม่สามารถตั้งใจเรียนได้  วอกแวก  เหม่อลอย  ถึงจะมีระดับสติปัญญาดี  แต่ไม่สามารถใช้ความสามารถทางสมองได้เต็มที่  ผลการเรียนมักจะต่ำกว่าที่ควรจะเป็นเสมอ
         



  3.   ปัญหาบุคลิกภาพ  เด็กที่เอาแต่ใจตนเอง  ติดสบาย  พ่อแม่ช่วยเหลือมากเกินไป  มักจะขาดความอดทน  ไม่ต่อสู้ปัญหาหนีหรือหลบเลี่ยงปัญหาอยู่เสมอ  เมื่อต้องเจอปัญหาอุปสรรคในการเรียนบ้างก็จะไม่สู้ ไม่ใช้ความสามารถของตนเองอย่างเต็มที่
              4.  ปัญหาความเครียด หรือโรคกังวลในวัยเด็ก  เด็กที่ชีวิตต้องเผชิญความเครียด ความวิตกกังวลมากๆในชีวิต(เช่นปัญหาภายในครอบครัวหรือเด็กที่มีพื้นอารมณ์เครียดง่าย  กังวลง่าย  มักจะไม่สามารถเรียนได้ดี  เนื่องจากมีอาการของความเครียด  ย้ำคิดย้ำทำ คิดวนเวียน กลัว คอยรบกวนอยู่เสมอ  ทำให้ขาดสมาธิ
     



                5.  อาการซึมเศร้าหรือโรคซึมเศร้าในวัยเด็ก  มักเป็นผลจากสิ่งแวดล้อมหรือครอบครัวนั่น เอง  ชีวิตที่ขาดความสุข  ความมั่นคงในอารมณ์  หรือมีการสูญเสียพ่อแม่  มักเป็นสาเหตุกระตุ้นให้เกิดอาการซึมเศร้าในเด็กได้ง่าย  ในวัยรุ่น  อาการซึมเศร้ามักพบได้บ่อยๆ  เนื่องจากอารมณ์วัยรุ่นมีความแปรปรวนมากอยู่แล้ว  และมักมีเรื่องกระทบจิตใจได้ง่าย  การปรับตัวที่ไม่ดีเป็นสาเหตุของความเครียดในวัยรุ่นได้ง่าย
            6.  ปัญหาการเรียนเฉพาะด้าน  เช่น การอ่าน  การเขียน
            7.  การขาดแรงจูงใจที่ดี 
            8.  การขาดการสนับสนุนส่งเสริม 
การรักษา
     การรักษาควรแก้ไขที่สาเหตุโดยตรง  อาจมีการตรวจประเมินเพิ่มเติม  เช่นการทดสอบทางจิต วิทยา  การวัดระดับสติปัญญา  การรับรู้ทางสายตาและหู 
    1. การฝึกฝนอบรมเพิ่มรายบุคคลและ/หรือแบบกลุ่ม 
    2. การส่งเสริมพัฒนาการทุกด้านพร้อมกัน
    3. การเรียนโดยแผนการเรียนรายบุคคล (Individual Educational Program)
 





ตัวอย่างเหตุการณ์
            จิตแพทย์ เผยขณะนี้พบวัยรุ่นมีปัญหาการเรียนร้อยละ 15-30 แนะพ่อปรับทัศนคติลูก เรียนเก่ง สอบเอนทรานซ์ติด สร้างความเครียดให้วัยรุ่น โดยเฉพาะช่วงเตรียมสอบเข้าระดับ อุดมศึกษา แนะสนับสนุนลูกเป็นคนดี ล่าสุดพบเด็กเครียดสะสมรุนแรง เสี่ยงเป็นโรควิตก กังวลและซึมเศร้าจนถึงวัยผู้ใหญ่ แล้วร้อยละ 15-20 แนวโน้มเพิ่มขึ้นร้อยละ 3-5 ต่อปี
           
เมื่อวันที่ 15 .. 56 แพทย์หญิงทิพาวรรณ บูรณสิน จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่นชำนาญการ ประจำสถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่น กรมสุขภาพจิต กล่าวว่า ในช่วงนี้วัยรุ่นใกล้การสอบ เอ็นทรานซ์ เพื่อเข้าศึกษาในระดับอุดมศึกษา ซึ่งความคาดหวังเรื่องการเรียนของพ่อแม่เป็นเหมือน กันทุกบ้าน บางคนคาดหวังโดยไม่เข้าใจศักยภาพของลูกว่า มีมากน้อยแค่ไหน ถ้าความคาดหวัง กับความเป็นจริง ไม่สอดคล้องกัน ก็จะกลายเป็นความกดดันให้ลูก ขณะเดียวกัน เด็กทุกคน ต้องการการยอมรับจากพ่อแม่ และหากพ่อแม่มีความคาดหวังมาก เด็กพยายามทำเต็มที่แล้ว แต่ผลออกมาได้ไม่ดีตามที่คาดหวัง เด็กจะเกิดความทุกข์ใจ เกิดความกดดัน เสี่ยงเรื่องความซึมเศร้า วิตกกังวล

            "
ศักยภาพของคนมีไม่เท่ากัน คลินิกสุขภาพจิตวัยรุ่นของสถาบันฯ พบวัยรุ่นมีปัญหาการ เรียน มารับการปรึกษาร้อยละ 15-30 ถือว่ามากพอสมควร บางคนฉลาดแต่สมาธิสั้น ไม่สามารถ จดจ่อกับสิ่งต่างๆ ได้นาน หรือบางคนมีความบกพร่องด้านทักษะการเรียนรู้ แม้จะพยายาม แล้วแต่ก็ยังไม่เข้าใจ ซึ่งพบได้ร้อยละ 5 เด็กกลุ่มนี้จะต้องการการช่วยเหลือทักษะ การเรียนเป็น พิเศษรายบุคคล และเป็นปัญหาสะสมตั้งแต่วัยเรียน วัยประถม พ่อแม่ต้องปรับทัศนคติ โดย เฉพาะค่านิยมเด็กเรียนเก่ง เรียนดี และสอบเอ็นทรานซ์ติด ต้องให้กำลังใจเด็ก เข้าใจเด็ก มีข้อ บกพร่องด้านใดต้องพยายามช่วยประคับประคองเด็กตั้งแต่ยังเล็ก ก็จะช่วยลูกลดความเครียดสะสม ในเรื่องการเรียนได้ เด็กที่ผิดหวังบ่อยๆ เสี่ยงต่อโรคซึมเศร้าต่อเนื่องจนถึงวัยผู้ใหญ่ ซึ่งขณะ นี้พบได้ร้อยละ 15-20 และแนวโน้มเพิ่มขึ้นร้อยละประมาณร้อยละ 3 ต่อปี นอกจากนี้ยังทำให้ เกิดโรควิตกกังวล เด็กขาดความมั่นใจ ขาดความเชื่อมั่นและขาดความศรัทธาตนเอง ขาดศรัทธา ในการทำสิ่งดีๆ อีกต่อๆ ไป ซึ่งอันตรายมากเปรียบเสมือน การขาดภูมิคุ้มกันทางจิตใจ เด็กหลาย คนอาจมีความประพฤติเด็กเปลี่ยนไปในทางตรงข้าม เช่น จากความประพฤติเรียบร้อยกลายเป็น แสดงพฤติกรรมก้าวร้าว ต่อต้าน เกเร ต่อต้านสังคม เสี่ยงกระทำผิดกฎหมายได้ เป็นต้น" แพทย์ หญิงทิพาวรรณกล่าว  
           
แพทย์หญิงทิพาวรรณ กล่าวต่อว่า พ่อแม่ที่มีลูกวัยรุ่นมักเจอกับปัญหาความไม่เข้าใจกัน เพราะวัยห่างกัน อาจจะทำให้เด็กไม่กล้าที่จะปรึกษา ดังนั้นสิ่งที่พ่อแม่ต้องทำอย่างแรกเมื่อลูกเดินเข้ามาปรึกษาปัญหา คือ 1.ต้องให้เวลาลูก 2.ตั้งใจฟังสิ่งที่ลูกพูด ฟังโดยใช้สติ ไม่ด่วนตัดสิน อย่าใช้อารมณ์3.ให้กำลังใจและหาทางออกให้เด็กเมื่อเด็กต้องการ  สิ่งที่พ่อแม่ไม่ควรทำเป็นอย่างยิ่งคือ อย่าพูดคำว่าเดี๋ยว เพราะวัยรุ่นอาจจะรอไม่ได้ และหากเด็กไม่ได้รับคำปรึกษาจากพ่อแม่แล้ว เด็กก็จะหันไปปรึกษาเพื่อนๆ แทน และได้ทางออกในทางที่ไม่เหมาะสม หรือในกรณีที่เด็กอาจ รู้สึกผิดอยู่แล้ว และเมื่อปรึกษาพ่อแม่แล้วโดนตำหนิกระหน่ำซ้ำเติม ครั้งต่อไปเด็กก็จะปิดบัง ไม่บอกหรือหันไปต่อต้านพ่อแม่ ทำตามเพื่อนในทางที่ไม่ดี ดังนั้นพ่อแม่จึงเป็นบุคคลที่สำคัญมาก ในการเป็นที่ปรึกษา ช่วยลดความเครียดให้เด็ก มีงานวิจัยพบว่าเด็กที่ถูกทำโทษหรือครอบครัวใช้ ความรุนแรงตั้งแต่วัยเด็ก จะส่งผลกระทบต่อการเรียนรู้ ที่สำคัญคือ ส่งผลกระทบต่อสติปัญญา อารมณ์และสมาธิความจำ
           
แพทย์หญิงทิพาวรรณ ยังกล่าวอีกว่า ในการสร้างค่านิยมใหม่ของพ่อแม่ ควรสนับสนุน เรื่องการเป็นคนดี มีพฤติกรรมดี มีระเบียบวินัย ซื่อสัตย์ อดทน มีน้ำใจ มากกว่าจะดูที่ผลการเรียน เพราะคะแนนเป็นเพียงตัวเลข ควรดูที่ความพยายามของลูก และช่วยพัฒนาจุดอ่อนทางการ เรียนรู้  เช่น บางคนอ่านไม่เก่งจับใจความไม่ได้ ก็ควรช่วยชี้แนะให้ทำสรุป ทบทวน ให้กำลังใจ และชมเมื่อลูกได้แสดงความพยายาม บางคนสมาธิความจำไม่ดี วอกแวกได้ง่าย อาจจะต้อง ปรึกษาแพทย์เพื่อการวินิจฉัยและดูแลช่วยเหลือเฉพาะด้าน
            "การสอบเอ็นทรานซ์เป็นเพียงเหตุการณ์หนึ่งในชีวิต ไม่ใช่ทั้งหมดของชีวิต และคนที่ ประสบความสำเร็จในชีวิตคือ "คนดี" มีความรับผิดชอบ เข้ากับคนอื่นได้ง่าย เป็นที่ยอมรับ ของสังคม ไม่ใช่เฉพาะ "คนเก่ง" เท่านั้น ดังนั้นเด็กที่กำลังอยู่ในวัยศึกษา การเรียนถือว่า เป็นหน้าที่หลัก ต้องอดทนและพยายาม พ่อแม่ควรให้กำลังใจลูกตั้งแต่เด็ก อย่างสม่ำเสมอ สัมพันธภาพที่ดีเปรียบเสมือนเป็นวัคซีนทางใจ วัคซีนสำหรับชีวิตแก่ลูกทั้งนี้  วิธีการสร้าง ภูมิคุ้มกันทางใจแก่ลูก ประกอบด้วย  
1.ตระหนักรู้ในตัวตนของลูกว่ามีความสามารถอะไร เก่งอะไร อะไรคือจุดอ่อน จุดแข็ง โดยให้พัฒนาต่อจุดแข็ง และพยายามปรับปรุงจุดอ่อนของลูก
2.สังเกตการปรับตัวของลูกที่โรงเรียน 3.ติดตามเอาใจใส่เรื่องความรับผิดชอบและผลการเรียนอย่างใกล้ชิด 4.คอยประคับประคองช่วยเหลือให้กำลังใจ ยืนข้างๆ ลูก ถ้าเด็กมีความพยายามและตั้งใจที่ดีก็จะเก่งได้ในวันข้างหน้า และสามารถเป็นที่พึ่งเลี้ยงตัวเองได้ โดยที่ไม่ต้องพึ่งคนอื่น" แพทย์หญิงทิพาวรรณ กล่าว.
ข้อมูลจาก : http://www.thairath.co.th/content/389524
วิเคราะห์เหตุการณ์
สาเหตุ: เด็กเครียดจากการต้องสอบเอนทรานซ์ หรือมีปัญหาเกี่ยวกับการใช้ชีวิตด้านอื่น
ปัญหา: เด็กมีผลการเรียนย่ำแย่ทำให้มีความเครียดเพิ่มมากขึ้นอีก

การแก้ปัญหา: จัดหาบุคคลที่พร้อมจะรับฟังและเข้าใจในทุกๆปัญหาของเด็กวัยรุ่นไปพูดคุย