วันอาทิตย์ที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2558

โรคซึมเศร้าในวัยรุ่น

โรคซึมเศร้าในวัยรุ่น
  
โรคซึมเศร้า (depression) เป็นโรคทางอารมณ์ชนิดหนึ่ง ซึ่งผู้ที่เป็นโรคนี้จะมีอารมณ์ซึมเศร้าอย่างรุนแรง โดยไม่มีสาเหตุอารมณ์ซึมเศร้า อาจเริ่มต้นจากน้อยๆ ไปหามาก ผู้ป่วยอาจมีอารมณ์ไม่แจ่มใส หดหู่ เศร้าหมอง มีทุกข์ จนถึงเบื่อหน่าย ท้อแท้ เบื่อชีวิต คิดว่าตนเองไร้ค่า คิดอยากตายและอาจจะฆ่าตัวตายได้ โรคซึมเศร้าเป็นโรคที่รักษาได้ผลดีมาก การใช้ยาร่วมกับจิตบำบัด จะช่วยให้ผู้ป่วยส่วนใหญ่หายเป็นปกติเหมือนเดิม เมื่อหายแล้ว แพทย์จะให้รับประทานยาป้องกันต่ออีกประมาณ 6 - 12 เดือน ไม่ควรหยุดยาเองเด็ดขาด เพราะอาจทำให้มีอาการอีกได้ง่าย

  
โรคซึมเศร้า  พบได้ในทุกช่วงระยะเวลาของชีวิต ครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยโรคซึมเศร้า คิดฆ่าตัวตาย และครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยที่ฆ่าตัวตาย เป็นโรคซึมเศร้า


อาการ
อาการ และการแสดงออกของโรคซึมเศร้าในวัยรุ่น มีได้หลายรูปแบบต่างๆ ดังนี้
1. มีอารมณ์ซึมเศร้า ท้อแท้ เบื่อหน่าย เก็บตัว โดยอารมณ์เศร้าอาจจะเกิดขึ้นเองโดยไม่มีสาเหตุ
2. มีพฤติกรรมเปลี่ยนไป ที่พบบ่อย คือ อารมณ์หงุดหงิด ฉุนเฉียวง่าย ขาดสมาธิ  ผลการเรียนตก เกเร บางรายอาจจะ ใช้สารเสพติด หรือหนีจากบ้าน
3. มีอาการทางกาย โดยตรวจไม่พบสภาพทางร่างกาย เช่น ปวดหัว นอนไม่หลับ ปวดท้อง อาหารไม่ย่อย ท้องอืด ไม่อยากกินอาหาร บางรายอาจจะมีอาการง่วงนอนตลอดเวลา
ทั้งนี้ผู้เป็นโรคซึมเศร้าในวัยรุ่น อาจจะมี โรคทางจิตเวชอื่นๆ ร่วมด้วย เช่นโรคเครียด โรควิตกกังวล เป็นต้น

สาเหตุ
ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าทั้งเด็ก และผู้ใหญ่ พบว่ามีการลดลงของสารสื่อประสาท  ประเภท สารสุขโดยเฉพาะ Serotonin ที่จุดเชื่อมปลายประสาท ในสมองส่วนลิมบิก (Limbic) ทำให้ขาดสมดุลของสารสื่อประสาท และสารสื่อประสาททำงานผิดปกติไปทำให้เกิดสภาพของโรคซึมเศร้า โดยมีสาเหตุดังนี้
          1. เกิดจากภาวะกดดันหรือความเครียดนำมาก่อน และไม่สามารถปรับตัวได้ แม้ว่าปัญหาจะหมดไปแล้ว หรือเป็นปัญหาต่อเนื่อง และไม่สามารถปรับตัวได้
          2. พบภาวะการสูญเสีย ซึ่งคนปกติจะมีอาการซึมเศร้าได้ แต่ไม่ควรมีเกินกว่า 2 เดือน หลังจากเหตุการณ์นั้น  ภาวะซึมเศร้าอาจเกิดจากการเกิดโรคทางกาย หรือความผิดปกติของฮอร์โมนบางชนิด
          3. ลักษณะบุคลิกภาพเดิมที่มักมีแนวคิดทำให้ตนเองซึมเศร้า เช่น มองตนเองในแง่ลบ มองโลกในแง่ร้าย เห็นแต่ข้อบกพร่องของตนเอง

การรักษาโรคซึมเศร้า
การรักษาโดยใช้ยา
แพทย์จะพิจารณาเลือกใช้ชนิดของยาแก้ซึมเศร้า โดยอาศัยปัจจัยต่างๆ เช่น ลักษณะของอาการและความรุนแรง ระยะเวลาว่าป่วยมานานเท่าใด ประกอบอาชีพหรือดำรงอาชีพอย่างไร มีโรคประจำตัวอะไรบ้าง และกำลังรับประทานยาชนิดใดอยู่ เพื่อเลือกยาแก้ซึมเศร้าที่เหมาะสมที่สุดแก่ผู้ป่วย
ยาแก้ซึมเศร้าส่วนใหญ่ มีฤทธิ์ยับยั้งการดูดซึมสารสื่อประสาทกลับเข้าเซลล์ จึงทำให้มีปริมาณสารสื่อประสาทเพิ่มขึ้นหรือสมดุลขึ้น ข้อสำคัญคือ ยาแก้ซึมเศร้าไม่มีฤทธิ์เสพย์ติด
ยาแก้ซึมเศร้าก็มีผลข้างเคียงได้ดังยาอื่นๆ เช่น ทำให้มึนๆ ง่วงๆ แต่มักจะเป็นอยู่ช่วงสั้นไม่กี่วันก็หาย หากมีอาการมากจนรบกวนกิจวัตรประจำวัน ผู้ป่วยควรติดต่อแพทย์ผู้รักษา เพื่อขอคำแนะนำในการแก้ไขหรือปรับเปลี่ยนยา


ศิลปะบำบัด
ประโยชน์ของการวาดภาพนั้นช่วยให้คุณได้ระบายออกทางอารมณ์ ในยาม ที่คุณรู้สึกเศร้า โดยไม่ต้องกังวลว่าเราต้องเป็นศิลปินหรือมีฝีมือแค่ไหน

  
 การกระตุ้นทางสายตา และกลิ่น
 การได้มองสิ่งที่สวยงามสามารถเพิ่มคุณภาพชีวิตของคุณได้ เช่น มองธรรมชาติที่สวยงาม สีสบายตา เป็นต้น และกลิ่นบางชนิดมีผลช่วยผ่อนคลายความเครียด ได้แก่ กระเพรา, มะกรูด, อบเชย, มะลิ, ตะไคร้, ส้ม, กระดังงา, ใบสะระแหน่, ลาเวนเดอร์, มะนาว เป็นต้น
 




การฆ่าตัวตาย
สาเหตุของการฆ่าตัวตายมีหลายประการ ได้แก่
          1. มีอาการซึมเศร้า ผู้ที่มีอาการซึมเศร้ามากๆ จะคิดว่าตนเองไร้ค่าอยู่ไปไม่มีประโยชน์ ความรู้สึกซึมเศร้าทำให้ไม่สามารถทนอยู่กับอาการต่างๆ ซึ่งทรมานได้อีกต่อไป ส่วนใหญ่ผู้ที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้า จะมีอาการรุนแรงถึงขนาดฆ่าตัวตายได้
          2. มีอาการโรคจิต ผู้ที่เป็นโรคจิต มักมีอาการหูแว่ว, หลงผิด และปรับตัวเข้ากับสังคมได้ลำบาก บางครั้งเกิดอาการซึมเศร้าจากการป่วยโรคจิตอย่างเรื้อรัง ไม่มีความหวังในชีวิต ก็คิดอยากตายได้ ผู้ป่วยโรคจิตบางคนมีหูแว่วเป็นเสียงสั่งให้ฆ่าตัวตายก็ทำตามเสียงนั้น ผู้ป่วยโรคจิตบางชนิดจะสับสน มีภาพหลอน เกิดตกใจวิ่งหนี ทำให้เกิดอุบัติเหตุเหมือนฆ่าตัวตายได้
          3. ผู้ที่ติดเหล้าหรือสารเสพติด เกิดอาการซึมเศร้า และขาดการยับยั้งใจตัวเอง ฆ่าตัวตายด้วยความโกรธ และก้าวร้าวต่อตนเองได้
          4. ผู้ที่มีบุคลิกภาพผิดปกติ จะเกิดปัญหาทางอารมณ์ได้ง่าย และอยากฆ่าตัวตายได้

ตัวอย่างเหตุการณ์


  
กรมสุขภาพจิต เผย คนไทยยุคใหม่ น่าห่วง เสี่ยงฆ่าตัวตาย ชี้สถิติปี 54 เพิ่มจาก 5.9 เป็น 6.03 คนต่อแสนประชากร ตะลึงวัยรุ่นฆ่าตัวเฉลี่ย 170 คนต่อปี ภาคอีสานครองแชมป์ โดยเฉพาะในกลุ่มกำลังเรียน พบสถิติผูกคอตายมากสุด แนะปรึกษาคนรอบข้างระบายความเครียด...
เมื่อวันที่ 6 ก.ย.  นพ.ทวี ตั้งเสรี รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า ปัญหาการฆ่าตัวตายเป็นปัญหาสำคัญยิ่งของสังคมไทย โดยแต่ละปีจะมีคนฆ่าตัวตายสำเร็จมากกว่า 3,500 คน และจากตัวเลขล่าสุดในปี 2554 มีคนไทยเสียชีวิตจากการฆ่าตัวตายถึง 3,873 คน คิดเป็นอัตรา 6.03 ต่อประชากรแสนคน ซึ่งเป็นตัวเลขที่สูงขึ้นกว่าปีที่แล้ว ซึ่งอยู่ที่อัตรา 5.9 ต่อประชากรแสนคน ทั้งนี้ ในปี 2554 เมื่อวิเคราะห์สถิติในแต่ละกลุ่มช่วงอายุ พบว่า วัยรุ่นไทยเป็นกลุ่มที่ต้องให้ความห่วงใยเป็นพิเศษ เพราะวัยรุ่นเป็นวัยที่ต้องเผชิญปัญหาชีวิตและต้องปรับตัวในหลายๆ ด้าน ทั้งประสบการณ์ชีวิตยังไม่มากนัก อาจส่งผลให้เกิดปัญหาสุขภาพจิตตามมาได้
นอกจากนี้ ในปี 2550 – 2554 พบว่า ประเทศไทยมีวัยรุ่นที่ฆ่าตัวตายสำเร็จ 852 คน หรือ เฉลี่ย 170 คนต่อปี โดยปี 2554 พบว่า วัยรุ่นไทยอายุระหว่าง 15-19 ปี มีอัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จ อยู่ที่ 3.43 ต่อประชากรแสนคน วัยรุ่นชายฆ่าตัวตายสำเร็จมากกว่าวัยรุ่นหญิงเป็น 3 เท่า โดยที่วัยรุ่นหญิงจะพยายามทำร้ายตนเองมากกว่าวัยรุ่นชายเป็น 3 เท่า และที่น่าสนใจ คือ ร้อยละ 51.1 ของวัยรุ่นที่ฆ่าตัวตายนั้นอยู่ในช่วงระหว่างศึกษา ร้อยละ 25.1 ไม่ได้เรียนต่อในชั้นมัธยมและประกอบอาชีพรับจ้าง/เกษตรกรรม
สำหรับวิธีการใช้ในการฆ่าตัวตาย พบว่า เป็นวิธีการเช่นเดียวกับผู้ใหญ่ คือ การผูกคอตาย มากถึงร้อยละ 75.29 รองลงมา คือ การกินยาฆ่าแมลง ร้อยละ 16.47 รูปแบบของการฆ่าตัวตายจะเป็นลักษณะกะทันหันเมื่อต้องประสบภาวะวิกฤติมากกว่า มาจากปัญหาสุขภาพจิตที่มีอยู่แล้ว เช่น ปัญหาการเรียน สัมพันธภาพ และร้อยละ 16.8 เคยมีประวัติทำร้ายตัวเองมาก่อน
ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาเป็นรายภาค พบ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นภาคที่มีการฆ่าตัวตายของวัยรุ่นมากกว่าภาคอื่นๆ ส่วนจังหวัดที่มีวัยรุ่นฆ่าตัวตายสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดนครราชสีมา ขอนแก่น อุดรธานี เชียงราย และจังหวัดเชียงใหม่ ตามลำดับ ขณะที่ วัยรุ่นกรุงเทพมหานคร ฆ่าตัวตาย คิดเป็นร้อยละ 2.9 ของวัยรุ่นที่ฆ่าตัวตายทั้งหมด อีกทั้งไม่กี่เดือนข้างหน้า จะเป็นเทศกาลสอบ GAT และ PAT ตลอดจนการสอบตรงของแต่ละคณะและสาขาต่างๆ จึงเป็นช่วงที่กลุ่มวัยรุ่นส่วนใหญ่ จะต้องเคร่งเครียดไปกับการเตรียมตัวอ่าน หนังสือและติวข้อสอบ ดังนั้นการผ่อนคลาย และการพูดคุยกับสมาชิกในครอบครัวลดน้อยลง อาจเกิดความเครียดสะสม ไม่สามารถจัดการกับความเครียดในตนเองได้
"อาจพัฒนาเป็นภาวะซึมเศร้า ซึ่งหากไม่สามารถหันหน้าไปปรึกษาใครได้ ไม่มีใครเข้าใจและรับฟัง มองไม่เห็นทางออกของปัญหา อาจส่งผลให้เกิดความรู้สึกสิ้นหวัง ไร้คุณค่าในตนเอง มีความคิดฆ่าตัวตาย ประกอบกับ หากเคยพบเห็นข่าวการฆ่าตัวตายอาจเกิดพฤติกรรมเลียนแบบได้ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้ปกครองหรือคนรอบข้างจะต้องให้ความช่วยเหลือวัยรุ่น ที่เสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย ด้วยการเป็นที่ปรึกษา รับฟัง เข้าใจและให้กำลังใจ ตลอดจนคอยสังเกตอาการของภาวะซึมเศร้า หรือ สัญญาณเตือนล่วงหน้าของการฆ่าตัวตาย เช่น การเขียนจดหมาย หรือ โทรศัพท์เพื่อเป็นการสั่งลา"
อย่างไรก็ตาม ได้ร่วมมือกับองค์การอนามัยโลก กำหนดให้วันที่ 10 กันยายนของทุกปี เป็นวันป้องกันการฆ่าตัวตายโลก กรมสุขภาพจิตจึงได้จัดกิจกรรมรณรงค์เนื่องในวันป้องกันการฆ่าตัวตายโลกขึ้น ณ ศูนย์การค้า เซ็นทรัลเวิลด์ ในวันที่ 6 ก.ย. 2555 ภายใต้แนวคิด คนไทยยุคใหม่ กำลังใจเกินร้อย ด้วยหวังสร้างความตระหนักให้คนไทยทุกคนเห็นความสำคัญของปัญหาการฆ่าตัวตาย ใส่ใจที่จะดูแลสุขภาพจิตตนเองและคนรอบข้าง โดยเฉพาะวัยรุ่น ที่ครอบครัวและเพื่อนสนิท ถือว่ามีความสำคัญอย่างยิ่ง ซึ่งหากให้ความเข้าใจและเป็นกำลังใจให้กันอยู่เสมอ หากไม่สบายใจ วิตกกังวลหรือเครียด ควรหาเพื่อนปรึกษาพูดคุยระบาย ช่วยกันคิดแก้ปัญหา ไม่เก็บปัญหาไว้คนเดียว โดยสามารถขอรับคำปรึกษาได้ที่หน่วยบริการสาธารณสุขใกล้บ้าน ได้แก่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล โรงพยาบาลชุมชนที่อยู่ใกล้บ้าน ตลอดจน สายด่วนสุขภาพจิต 1323 ตลอด 24 ชั่วโมง หรือหากพบว่าตนเองอยู่ในภาวะเครียดรุนแรง ควรรีบพบแพทย์ หรือขอรับบริการได้ที่โรงพยาบาลจิตเวช สังกัดกรมสุขภาพจิตทั่วประเทศ
ข้อมูลจาก : http://www.thairath.co.th/content/289132
วิเคราะห์เหตุการณ์
สาเหตุ : เครียดจากการอ่านหนังสือสอบ และภาวะซึมเศร้าจากปัญหาในสังคม
ปัญหา : มีเด็กวัยรุ่นจำนวนมากฆ่าตัวตาย
การแก้ปัญหา : ให้ครอบครัวมีการคุยกับเด็กมากขึ้น และไม่ไปกดดันเด็ก เด็กจะได้มีอารมณ์ที่ผ่อนคลายลง
ที่มาของข้อมูล
http://icare.kapook.com/suicide.php?ac=detail&s_id=65&id=120
http://www.ramamental.com/medicalstudent/generalpsyc/depressdetail/
http://www.thaiclinic.com/depression_adolescent.html

http://www.cgh.co.th/ 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น